รู้จักประเภทของจอบนสมาร์ทโฟน เลือกจอแบบไหนดี? ให้เหมาะกับใช้งานของเรา | Thaiware

รู้จักหน้าจอมือถือแต่ละประเภท TFT, IPS, AMOLED, Super AMOLED, Dynamic AMOLED คืออะไร ต่างกันอย่างไร? ::

หน้าจอแสดงผลเป็นส่วนสำคัญในการถ่ายทอดประสบการณ์ที่ดีจากตัวสมาร์ทโฟนไปยังผู้ใช้ ซึ่งทางผู้ผลิตเองก็ตระหนักในจุดนี้ และพยายามพัฒนาหน้าจอแสดงผลให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ตอนนี้เราได้เห็นหน้าจอแสดงผลหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น TFT, IPS หรือ AMOLED แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจว่าหน้าจอแบบต่างๆ นี้ มีคุณสมบัติที่ต่างกันอย่างไร และแบบไหนดีกว่ากัน ซึ่งในวันนี้เราก็จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับจอแสดงผลประเภทต่างๆ บนสมาร์ทโฟนกันครับ

หน้าจอ LCD (Liquid Crystal Display) เป็นหน้าจอแสดงผลแบบดิจิทัลที่ใช้ผลึกเหลวเป็นองค์ประกอบหลัก ประกบทับด้วยฟิลเตอร์บางๆ หลายชั้นเหมือนแซนด์วิช และมีไฟ backlight เป็นแหล่งกำเนิดแสง โดยแสงจาก backlight จะส่องผ่านฟิลเตอร์แต่ละชั้นรวมถึงชั้นผลึกเหลว โดยผลึกเหลวจะถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าให้เรียงตัวกัน ทำให้แสง backlight เกิดการหักเห จนเกิดเป็นจุดสว่างและมืดบนหน้าจอ จากนั้นแสงจะผ่านฟิลเตอร์ RGB จนเกิดเป็นสีสันขึ้นมา กลายเป็นภาพที่เราเห็นบนหน้าจอ โดยประเภทของหน้าจอ LCD ที่ใช้กันในสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่มีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ :

หน้าจอ TFT LCD คือจอ LCD ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ Active Matrix ซึ่งมีแผ่นฟิล์ม TFT (Thin-Film Transistor) ทำหน้าที่เป็นตัวส่งสัญญาณควบคุมผลึกเหลวให้เรียงตัวกันเพื่อปิดกั้น หรือเปิดทางให้แสง backlight ผ่านออกมาบนเม็ดพิกเซล คุณภาพการแสดงผลดีพอสำหรับการใช้งานทั่วๆ ไป และมีราคาถูกกว่าจอประเภทอื่น เราจึงมักจะพบจอ TFT ในสมาร์ทโฟนราคาประหยัดเสียเป็นส่วนใหญ่

จอ IPS LCD (In-Plane Switching) เป็นหน้าจอที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในวงการสมาร์ทโฟน พัฒนาต่อยอดมาจากจอ TFT โดยแต่ละพิกเซลจะมีตัวส่งสัญญาณ 2 ตัว ทำให้มีสีสันสดใส และมีมุมมองการแสดงผลที่กว้างกว่าจอ TFT แต่ก็มีราคาแพงกว่าจอ TFT เช่นกัน

OLED (Organic Light Emitting Diodes) เป็นจอภาพที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตต่างจาก LCD มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มที่มีส่วนประกอบเป็นสารอินทรีย์ สามารถเปล่งแสงได้ด้วยตัวเองเมื่อถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า จึงไม่จำเป็นต้องมี backlight สีดำบนจอ OLED จะถูกแสดงผลด้วยการดับไฟ ทำให้จอ OLED แสดงผลสีดำได้อย่างเข้มข้นสมจริง และกินไฟน้อยลง ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนใช้ประโยชน์จากคุณสมบัตินี้ในการพัฒนาฟีเจอร์ Always-On Display เพื่อให้สมาร์ทโฟนแสดงข้อมูลบนหน้าจอได้ตลอดเวลาโดยไม่เปลืองแบตเตอรี่นั่นเอง

ด้วยความที่ไม่ต้องพึ่งพา backlight ทำให้จอ OLED บางกว่าจอ LCD และยังมีความยืดหยุ่น สามารถโค้งงอได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญในการผลิตสมาร์ทโฟนพับได้อย่าง Samsung Galaxy Fold และ Motorola Razr อีกทั้งยังมี contrast ratio สูงกว่าจอ LCD อีกด้วย แต่ก็แน่นอนว่ามีราคาที่แพงกว่าเช่นกัน

AMOLED (Active Matrix Organic Light Emitting Diode) คือจอ OLED ที่ได้รับการอัปเกรดด้วยการผสมผสานเทคโนโลยี Active Matrix แบบจอ TFT ช่วยยกระดับการแสดงผลให้ดียิ่งขึ้น จนได้สีดำที่ “ดำ” กว่า, สีสันสว่างสดใสกว่า และมีอัตรารีเฟรชสูงกว่า แต่มีข้อเสียคือ จอประเภทนี้จะสู้แสงแดดได้ไม่ดีนัก

จอ AMOLED มักจะนำมาใช้ในสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันเริ่มมีให้เห็นในสมาร์ทโฟนระดับกลางมากขึ้น

PMOLED (Passive Matrix Organic Light Emitting Diode) คือจอ OLED อีกแบบหนึ่งที่มีการวางเส้นขั้วแคโทดและแอโนดซ้อนกันแบบตั้งฉาก โดยตำแหน่งที่เป็นจุดตัดของเส้นขั้วคือจุดพิกเซล ซึ่งจะสว่างขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าภายนอก โดยความสว่างจะขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟที่จ่ายเข้าไป หน้าจอประเภทนี้ผลิตง่าย แต่ใช้พลังงานสูงกว่าจอ OLED แบบอื่น มักใช้กันในอุปกรณ์ที่มีหน้าจอขนาดเล็ก (2-3 นิ้ว) เช่นเครื่องเล่น MP3 หรือหน้าจอรองบนสมาร์ทโฟนบางรุ่น เป็นต้น

บางครั้งเราอาจจะได้เห็นการพูดถึงหน้าจอ pOLED ซึ่งต้องขอบอกให้ชัดเจนว่ามันไม่ได้หมายถึง PMOLED แต่หน้าจอ pOLED คือหน้าจอ OLED ที่ใช้เลเยอร์พลาสติกแทนเลเยอร์ที่เป็นกระจก เพื่อให้บางลง และยืดหยุ่นยิ่งขึ้น ปัจจุบันหน้าจอ OLED ส่วนใหญ่บนสมาร์ทโฟนจะเป็นประเภทนี้ทั้งหมด ตามเทรนด์ของวงการที่นิยมจอโค้งและจอพับมากขึ้น

Super AMOLED คือหน้าจอ AMOLED ที่ปรับโครงสร้างใหม่ด้วยการแทรกเซ็นเซอร์รับสัมผัสเข้าไปในจอ ทำให้ยิ่งบางลงไปอีก ขณะเดียวกัน ยังมีการอัปเกรดให้จอสว่างขึ้น, ประหยัดพลังงานมากขึ้น, สู้แสงแดดได้ดีขึ้น และมีมุมมองที่กว้างขึ้น เรามักจะพบจอประเภทนี้ในสมาร์ทโฟนระดับเรือธงเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนตระกูล Samsung Galaxy

Dynamic AMOLED เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่ Samsung พัฒนาขึ้น โดยอัปเกรดหน้าจอ Super AMOLED ให้รองรับมาตรฐานการแสดงผลแบบ HDR10+ ที่มีการเข้ารหัสแบบ Dynamic Metadata ช่วยให้ประมวลผลภาพมืดและสว่างโดยรวมแบบอัตโนมัติได้ลึกขึ้น และสมจริงยิ่งกว่าเดิม ในทางทฤษฎีแล้วนับว่าใกล้เคียงกับดวงตามนุษย์มากที่สุด และเป็นเทคโนโลยีการแสดงผลที่ล้ำหน้าที่สุดในวงการสมาร์ทโฟน ณ ปัจจุบัน

ขณะนี้ สมาร์ทโฟนที่ใช้หน้าจอแสดงผลแบบ Dynamic AMOLED มีเพียงเรือธงของทาง Samsung อย่าง Samsung Galaxy S10 Series, Galaxy S20 Series, Galaxy Note10 Series และ Galaxy Note 20 Series เท่านั้น

และทั้งหมดนี้คือประเภทของหน้าจอแสดงผลที่พบเห็นได้บ่อยในวงการสมาร์ทโฟน ซึ่งเราก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกท่านเข้าใจคุณสมบัติและความแตกต่างของจอสมาร์ทโฟนมากขึ้น และพิจารณาเลือกซื้อสมาร์ทโฟนได้อย่างมั่นใจกว่าเดิมครับ

ทำความรู้จักหน้าจอมือถือ LCD, OLED, AMOLED, POLED ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี

สมาร์ทโฟนในปัจจุบันมีหน้าจอหลากหลายชนิด ทั้ง LCD, OLED, AMOLED เป็นต้น ซึ่งหลายคนก็อาจจะสงสัยว่าแต่ะชนิดแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร มาดูกันครับ

เป็นชนิดของหน้าจอที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในมือถือ หลักการทำงานแบบเข้าใจง่ายคือหน้าจอชนิดนี้จะต้องมีไฟ Backlit ส่องแสงผ่านแผ่นโพลาไรซ์ (Polarize) 2 แผ่นที่วางทำมุมกัน 90 องศา ซึ่งตาปกติแผ่นโพลาไรซ์จะมีความสามารถทำให้แสงผ่านได้เพียงมุมเดียว เมื่อวางตั้งฉากกันจะทำให้แสงไม่สามารถส่องผ่านได้ ตรงกลางจึงมีผลึก Liquid-crystal ที่สามารถเปลี่ยนมุมของแสงได้คั่นอยู่คอยหักเหแสงให้สามารถส่องผ่านแผ่นโพลาไรซ์ทั้งสองได้ โดยผลึกนี้สามารถปรับเปลี่ยนปริมาณแสงที่หักเหได้โดยใช้ไฟฟ้า ในการใช้งาน หากเราต้องการแสดงผลสีดำ ตัว Liquid-crystal ก็จะไม่หักเหแสงเลย แต่ถ้าต้องการสีขาวก็จะหักเหแสงสุด ถ้าต้องการโทนสีระหว่างนั้นก็จะปรับปริมาณการหักเหแสงตามความเหมาะสม

ในหนึ่งพิกเซลของหน้าจอจะประกอบด้วยผลึก Liquid-crystal 3 ผลึก ผลึกละสี ประกอบด้วยสีแดง, เขียว และ น้ำเงิน ผสมรวมกันทั้งสามสีเพื่อแสดงผลสีต่างๆ บนหน้าจอได้ครับ

หน้าจอ LCD ที่เรานิยมใช้กันนปัจจุบันจะเป็นชนิด TFT LCD ได้ชื่อมาจากแผ่น Thin-film-transistor ที่เชื่อมเข้ากับพิกเซลแต่ละพิกเซลบนหน้าจอสำหรับควบคุมการเปิดปิดพิกเซล ข้อดีของหน้าจอชนิดนี้คือมีความคมชัดและรีเฟรชเรทที่สูง ซึ่ง TFT LCD เองก็ยังแบ่งแยกย่อยได้อีก โดยหลักๆ ที่ใช้กันจะมี 3 ชนิด

• TN (Twisted nematic) เป็นชนิดหน้าจอที่ค่อนข้างโบราณและมีราคาถูก ข้อดีของมันคือความเร็วในการตอบสนองสูง แต่แลกมากับมุมมองหน้าจอที่แคบ และแสดงผลสีสันได้แย่

• VA (vertical alignment) ชนิดหน้าจอที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาให้มีการตอบสนองที่รวดเร็ว และมุมมองภาพที่กว้างขึ้น แลกมากับความสว่างที่น้อยและการแสดงผลสีที่แย่

• IPS (In-plane switching) ชนิดหน้าจอที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในสมาร์ทโฟน ได้รับการรับปรุงให้สามารถแสดงสีสันได้สวยงามและมีมุมมองภาพที่กว้าง ในยุคแรกหน้าจอชนิดนี้มีข้อเสียคือมีความเร็วในการตอบสนองที่ช้า และมี Contrast ต่ำ แต่ก็ได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นชนิดหน้าจอ LCD ที่ใช้มากที่สุด

• หลายคนเข้าใจผิดว่าหน้าจอ TFT และ IPS เป็นคนละชนิดกัน แท้จริงแล้ว หน้าจอ IPS เป็นประเภทย่อยของหน้าจอ TFT แต่สมัยที่หน้าจอชนิด IPS ได้รับความนิยมใหม่ๆ มักจะโฆษณาว่าเป็นหน้าจอ IPS ส่วนรุ่นเก่าๆ ที่อาจจะใช้ TN หรือ VA จะใช้คำว่า TFT เฉยๆ ทำให้เกิดการเข้าใจผิดกัน

เป็นหน้าจอชนิดใหม่ที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมสูงขึ้นในปัจจุบัน เรียกว่าสมาร์ทโฟนระดับกลางจนถึงระดับเรือธงแทบจะเลือกใช้หน้าจอชนิดนี้กันทุกรุ่น และยังถูกใช้เป็นหน้าจอของอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทวอทช์ด้วย การทำงานของหน้าจอชนิดนี้จะมีอินทรีย์สารที่สามารถส่องแสงได้ด้วยตัวเองเมื่อถูกกระตุ้นด้วยไฟฟ้า โดยแต่ละอินทรีย์สารก็คือหนึ่งพิกเซลในหน้าจอนั่นเอง โดยหน้าจอแบบ OLED มีจุดเด่นตรงที่แต่ละพิกเซลสามารถควบคุมการปิดเปิดได้อย่างอิสระ ไม่มีไฟ Backlit ทำให้สามารถแสดงผลสีดำได้ดำสนิท และด้วยความบางของหน้าจอทำให้สามารถออกแบบหน้าจอที่บิดงอได้ พับได้ นำไปใส่ในอุปกรณ์เล็กๆ ได้

เป็นชนิดของหน้าจอ OLED ได้ชื่อมาจากวิธีควบคุมหน้าจอ ซึ่งจะมี 2 วิธีด้วยกัน วิธีแรกคือ Passive Matrix (PMOLED) วิธีนี้จะใช้การจ่ายกระแสไฟไปยังแถวของ OLED ทีละแถว ซึ่งทำให้มีรีเฟรชเรทน้อย แต่ราคาถูก และอีกวิธีคือ Active Matrix (AMOLED) ที่ควบคุมผ่านแผ่น TFT ที่วางอยู่บน Substrate ซึ่งปกติจะใช้กระจก ทำให้สามารถออกแบบหน้าจอที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ความละเอียดสูงขึ้น และมีรีเฟรชเรทที่สูงกว่าหน้าจอ PMOLED มากๆ

หน้าจอ OLED ปกติจะใช้กระจกเป็น Substrate มีข้อดีคือแข็งแรง ราคาถูก ทนความร้อนได้ดี แต่เมื่อมีความต้องการหน้าจอ OLED ที่สามารถบิดงอ เปลี่ยนรูปได้ จึงมีไอเดียนำพลาสติกมาใช้เป็น Substrate แทน ซึ่งก็มีความท้าทายในการผลิตคือการทนความร้อนที่น้อยกว่าของพลาสติก แต่ก็จะได้จอที่สามารถบิด งอ เปลี่ยนรูปร่างได้ และบางกว่าอีกด้วย

เป็นเครื่องหมายทางการค้าของ Samsung หมายถึงหน้าจอ OLED แบบ Active matrix ที่มีการรวมแผงวงจรการทัชสกรีนเข้าไปกับโมดูลหน้าจอเป็นชิ้นเดียวกัน ทำให้ได้หน้าจอที่บางกว่า และสามารถติดตั้งได้ชิดกระจกมากกว่า ซึ่งเครื่องหมายการค้าหน้าจอ OLED ของ Samsung ยังมีอีกหลายชื่อ เช่น Super AMOLED Plus, Dynamic AMOLED, Dynamic AMOLED 2X เป็นต้น

ในหน้าจอแบบ OLED มักใช้การจัดเรียงพิกเซลแบบ Pentile ซึ่งถูกนำเสนอครั้งแรกใน Samsung Galaxy S3 การจัดเรียงพิกเซลแบบปกติจะเป็นการจัดเรียงแบบ แดง-เขียว-น้ำเงิน ต่อกันไปเรื่อยๆ แต่ในแบบ Pentile จะมีการลดขนาดของพิกเซลสีเขียว แต่เพิ่มจำนวนสีเขียวให้มากกว่าสองสีที่เหลือ ทำให้ลดความหนาแน่นของพิกเซลในขณะที่ได้ความละเอียดสูง และที่สำคัญคือช่วยยืดอายุการใช้งานของพิกเซลสีฟ้า ซึ่งเป็นพิกเซลที่มีความสามารถในการส่องแสงได้น้อยที่สุด ต้องใช้พลังงานมากที่สุด ทำให้มีอายุสั้นที่สุดด้วย แต่การจัดเรียงพิกเซลแบบนี้ก็โดนข้อครหาเรื่องความหนาแน่นของพิกเซลที่น้อยกว่าหารจัดเรียงแบบ RGB ปกติเมื่อเทียบกับหน้าจอที่มีความละเอียดเท่ากัน

ในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ เช่น iPhone X ได้มีการใช้หน้าจอที่จัดเรียงแบบ Diamond pentile ดังรูป

ด้วยความสามารถทั้งเรื่องความบาง สามารถบิดงอได้ และสามารถเลือกเปิดปิดพิกเซลหน้าจอได้อย่างอิสระ ทำให้มันถูกนำไปประยุกต์ใช้กับฟีเจอร์หลายๆ อย่างบนสมาร์ทโฟน

ด้วยความสามารถที่สามารถเปิดปิดแต่ละพิกเซลได้อย่างอิสระ จึงนำไปประยุกต์เป็นฟีเจอร์แสดงนาฬิกาและการแจ้งเตือนบนหน้าจอสมาร์ทโฟนแบบที่ติดค้างตลอดเวลา

และด้วยความสามารถบิดงอได้ จึงมีการออกแบบสมาร์ทโฟนที่มีหน้าจอขอบโค้งออกมา

และด้วยความบางรวมถึงความสามารถในการบิดงอ จึงถูกนำไปพัฒนาเป็นสมาร์ทโฟนรูปแบบใหม่ๆ เช่น หน้าจอพับได้ และ หน้าจอม้วนได้

ด้วยความบางจนแสงสามารถส่องทะลุผ่านได้ จึงมีการนำเซ็นเซอร์ต่างๆ ไปซ่อนไว้ใต้หน้าจอ OLED โดยที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ

• หลายคนเข้าใจว่าหน้าจอ OLED และ AMOLED เป็นหน้าจอคนละชนิดกัน หน้าจอ AMOLED นั้นก็คือหน้าจอ OLED แบบ Active Matrix แต่จอ OLED ที่ใช้ในสมาร์ทโฟนเป็น Active Matrix กันหมดแล้ว ดังนั้นหากจะบอกว่าหน้าจอ OLED ในสมาร์ทโฟนคือหน้าจอ AMOLED ทั้งหมดก็ว่าได้

เป็นอาการเสื่อมสภาพของหน้าจอทำให้มีภาพค้างเป็นเงาลางๆ แม้จะเปลี่ยนไปหน้าจออื่นแล้ว อาการนี้พบได้ทั้งจอ LCD และ OLED แต่ด้วยการพัฒนาทางเทคโนโลยีทำให้ไม่อาการนี้บนหน้าจอ LCD แล้ว แต่บนหน้าจอ OLED ยังมีอยู่

• ใช้งาน Dark mode และวอลเปเปอร์สีดำ เพราะการเปิดสีดำบนหน้าจอ OLED คือการปิดพิกเซลนั้น ช่วยลดความเสี่ยงของหน้าจอเบิร์นได้

• ใช้แอปแก้อาการหน้าจอเบิร์น สามารถดาวน์โหลดแอปได้จาก Google Play และ App Store ได้เลย แอปเหล่านี้จะเล่นภาพที่มีสีสันหลากหลายเพื่อช่วยแก้อาการหน้าจอเบิร์น

• OLED ให้คุณภาพของภาพที่ดีกว่าจาก Contrast ratio ที่สูงกว่า สามารถแสดงผลสีดำที่ดำสนิทได้

• หน้าจอ OLED อาจเกิดการกะพริบเมื่อลดแสงหน้าจอ ทำให้เกิดอาการตาล้าสำหรับบางคน ซึ่งการแก้ไขทำให้การแสดงผลสีมีความผิดเพี้ยน

• เนื่องจากแต่ละพิกเซลของ OLED อาจเสื่อมด้วยเวลาไม่เท่ากัน เมื่อใช้งานนานๆ จนจอเกิดอาการเสื่อมอาจทำให้การแสดงผลของสีสันผิดเพี้ยน

• ตามทฤษฎีแล้วหน้าจอ OLED มีความสามารถในการสู้แสงแดดที่น้อยกว่าหน้าจอ LCD แต่ด้วยเทคโนโลยีหลายๆ อย่างทำให้หน้าจอ OLED ในปัจจุบันสามารถใช้งานกลางแจ้งได้ดีกว่าหน้าจอ LCD

• การดูเพียงแค่ชนิดหน้าจอไม่สามารถฟันธงได้ว่าหน้าจอของรุ่นไหนสามารถแสดงสีสันได้ดีกว่า เที่ยงตรงกว่า หรือสว่างกว่า ขึ้นอยู่กับคุณภาพของหน้าจอที่ใช้ และการปรับจูนจากโรงงานด้วย

รู้จักประเภทของจอบนสมาร์ทโฟน เลือกจอแบบไหนดี? ให้เหมาะกับใช้งานของเรา | Thaiware

ในการเลือกซื้อสมาร์ทโฟน หรือโทรศัพท์มือถือ นอกจากขนาดของหน้าจอแล้ว ประเภทของหน้าจอก็มีส่วนสำคัญ เพราะหน้าจอแต่ละประเภท มีความโดดเด่นในการแสดงผลที่แตกต่างกัน

บทความนี้ จะนำเสนอเรื่องราวของ ประเภทของหน้าจอ และองค์ประกอบอื่นๆ นอกเหนือจาก คำโปรยโฆษณาทางการตลาด ถึงขนาดหน้าจอ และอัตราส่วนของหน้าจอ ปัจจุบัน ผู้ผลิตมือถือ แจ้งเพียงแค่ข้อมูล ขนาดหน้าจอ แต่ว่า จอภาพแต่ละประเภท มีความสดของสีที่แตกต่างกัน นั่นก็เพราะประเภทของจอนั้นต่างกัน ดังนั้น ในการเลือกซื้อ จึงไม่ใช่แค่ดูจำนวนพิกเซลเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาจอภาพที่เหมาะกับการใช้งานจริงๆ ของเรา

โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน มีหน้าจอหลายประเภท และยังมีอีกหลายปัจจัย แต่บนเว็บไซต์ของผู้ผลิตสมาร์ทโฟน ไม่ได้แจ้งข้อมูลหน้าจออย่างละเอียด ผู้เขียน จึงใช้วิธี เข้าไปดูเว็บที่บอกสเปคอย่างละเอียด เช่น ซึ่งบอกประเภทของหน้าจออย่างละเอียดไว้ด้วย

ณ ปัจจุบัน หน้าจอสัมผัส มี 2 ประเภทหลักๆ ก็คือ Capacitive และ Resistive ซึ่งจอแบบ Capacitive เนี่ย เป็นจอสัมผัสแบบที่ใช้นิ้วเราแตะ เป็นการส่งผ่านไฟฟ้าสถิตย์จากนิ้วมือ ในขณะที่จอแบบ Resistive เป็นหน้าจอสัมผัสที่ใช้แรงกดจากนิ้วของเรา ซึ่งจอแบบ Capacitive ทัชง่ายกว่า จิ้มเบาๆ ก็สัมผัสสั่งงานได้

ข้อมูลจากเว็บไซต์ GSMArena ยกตัวอย่าง หน้าจอ Apple iPad 9.7 (2018) ใช้หน้าจอแบบ Capacitive เป็นจอประเภท LED-backlit IPS LCD แสดงผล 16M สี (16 ล้านสี)

สิ่งที่น่าสนใจ นอกเหนือจาก Resolution ก็คือ ค่า ppi หรือ Pixel Per Inch หรือการแสดงผล จำนวนเม็ดพิกเซลต่อพื้นที่แสดงผลขนาด 1 ตารางนิ้ว ซึ่งหากใน 1 ตารางนิ้ว แสดงผลพิกเซลได้เยอะ เราก็จะเห็นจอคมชัด มีความละเอียดสูงมาก

เห็นได้ในมือถือฟีเจอร์โฟน ในสมัยที่เริ่มใช้หน้าจอสี และมีการเพิ่มจำนวนสีขึ้นมาเรื่อยๆ เพิ่มความคมชัดขึ้นมาเรื่อยๆ จอ TFT LCD ย่อมาจาก Thin Film Transistor ถ้าเรากดบนจอแรงๆ จะเห็นมีเม็ด น้ำๆ สว่างขึ้นมาบนจอ แล้วก็จางหายไป

จอ TFT ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็บริโภคแบตเตอรี่เยอะ แบตหมดเร็ว ผู้ผลิตมือถือจึงมองหาจอภาพที่แสดงผลสีสดใส คมชัด แต่ประหยัดพลังงานมากขึ้น

สำหรับจอภาพประเภทต่างๆ ในปัจจุบัน เราจะเห็นชื่อเรียกเป็นชื่อทางการตลาด ถ้าเอาตามตรงคือ แบรนด์มือถือแต่ละแบรนด์ ไม่ได้ผลิตจอแบรนด์ใครแบรนด์มัน แต่สั่งจอจาก Samsung, LG ผลิตจอให้ แม้แต่Apple เอง ก็ยังซื้อจอจากSamsung, LG, Sharp ซึ่งแบรนด์เหล่านี้ ผลิตจอให้แบรนด์มือถือต่างๆ แล้วก็ยังผลิตสมาร์ทโฟนในแบรนด์ตัวเองด้วยApple เองก็ใช้จอ Sharp และ Samsung ในการผลิตจอ iPad Pro ซึ่งก็เป็นจอสวยๆ ที่เราใช้กันทุกวันนี้นั่นแหล่ะครับ

อย่างที่บอกไปว่า ด้วยชื่อทางการตลาด จึงมีการพูดถึงจอแบบ Super AMOLED หรือจอ IPS LCD ดีกว่ากัน

เห็นในมือถือรุ่นท็อป จอสวยคมชัดบาดตา สีสันสดใส ใครชอบถ่ายรูป ดูรูป ได้จอสวยๆ ไว้ดูรูป ก็ให้สีสวยสด (แต่พอเอามาดูบนคอม สีอาจไม่เหมือนบนจอมือถือ) จอสว่างกว่าแบบ IPS LCD แต่บางคนอาจไม่ชอบ แสบตา สดเกิน แต่ข้อดีของจอแบบนี้ ประหยัดพลังงาน ยิ่งส่วนไหนแสดงผลสีดำก็ยิ่งใช้พลังงานน้อยมาก

ส่วนApple ใช้จอ IPS หรือ In-Plane Switching มานานแล้ว ให้สีสวยกว่า สดกว่า มุมมองกว้างกว่า (หมายถึง มองข้างๆ ได้ภาพที่คมชัด มีมิติ ไม่ใช่แค่มองแนวตรง) หลักการคือใช้ 2 ทรานซิสเตอร์ในแต่ละแต่พิกเซล ทำให้ได้ภาพที่สว่างสดใสกว่า

มือถือรุ่นที่ใช้หน้าจอ IPS LCD เท่าที่ดูจาก GSMarena ก็จะมี Sony Xperia XZ2 Premium ในขณะที่ Huawei P20 ใช้จอแบบ LTPS IPS LCD ส่วน Huawei P20 Pro เป็นจอแบบ AMOLED ส่วนจอ Samsung Galaxy S9 และ S9+ เป็นจอ Super AMOLED

ในขณะที่ iPhone 8 Plus ใช้จอ LED-backlit IPS LCD ส่วน iPhone X ใช้จอ OLED แบบใหม่ ซึ่งเป็นจอแสดงผลแบบ Super Retina ออกแบบโดย Apple ส่วน OnePlus 6 ใช้จอ Optic AMOLED

จะเห็นได้ว่า ราคามือถือ ก็สัมพันธ์กับประเภทของหน้าจอด้วยเช่นกัน

ส่วนจอแบบIPS-NEO ก็เป็นอีกการพัฒนาหนึ่ง เจ้าของเทคโนโลยีคือ JDI ดีกว่าจอ IPS-LCD แบบปกติ เช่น จอของ Huawei P9

ตอนนี้จอสมาร์ทโฟนในท้องตลาด ส่วนใหญ่มาพร้อมหน้าจอที่มีความละเอียด 720p หรือHD และ 1080p หรือ Full HD (ภาษาสเปคเขียน FHD) ส่วนจอ2K ก็เริ่มมีให้เห็นบ้างแล้ว ในขณะที่จอ 4K Ultra HD และ True 4K นั้น ยังมีให้เห็นน้อยรุ่นมากๆ ทั้งนี้ Content หรือเนื้อหา 4K ที่เสิร์ฟบนมือถือยังไม่มีให้เลือกชมมากนัก นอกจากรับชมผ่าน YouTube 4K หรือโหลดหนัง 4K ใส่ลงไปในมือถือโดยตรง

เราพูดถึงประเภทของหน้าจอกันไปแล้ว แต่อีกปัจจัยที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ Contrast Ratio และ Brightness เพราะการใช้งานกลางแจ้ง หรือแสงแดดจ้า มือถือเราควรจะสู้แสงได้ดี

ไม่ว่าจะเป็นจอแบบ Super AMOLED, HD-IPS, Super LCD, Retina IPS หรือจออื่นๆ เคลมว่าจอสวย ก็เพราะเราดูในห้าง ในอาคาร แต่ถ้าออกไปใช้กลางแดด ข้างนอกล่ะ การแสดงผลเป็นอย่างไร

ถ้าอาชีพใครที่ต้องอยู่กลางแดดเป็นประจำ แล้วจำเป็นต้องใช้มือถือด้วย เอาง่ายๆ ไซต์งานก่อสร้างอาคาร มีแสงสว่างส่องเค้ามาตลอด การใช้งานจริง จึงควรคำนึงเรื่องการสู้แสงด้วย

Contrast Ratio เป็นการวัดการแสดงผล ส่วนที่มืดที่สุด ก็ควรจะมืด และส่วนที่สว่างที่สุด ก็จะเป็นสีขาว หน้าจอที่มี Contrast Ratio ดีๆ จะให้แสง และสีที่สดใส ใครเน้นดูภาพ ใครเน้นดูวีดีโอ ก็จะต้องพิจารณาไว้ด้วย

ส่วน Brightness ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการวัดประสิทธิภาพในการแสดงผลของจอภาพสมาร์ทโฟน การตกกระทบแสงบนหน้าจอ กับการมองเห็นของสายตาเรา วัดแสงต่อตารางเมตร (cd/m2) โดยมีหน่วยเป็น Nits (nt)

อ่านมาถึงตรงนี้ บางคนก็นึกถึงจอเหลือง เฮ้ยย มันไม่โอเคสิ ถ้าเราได้มือถือจอเหลือง โดย Contrast Ratio วัดค่า cd/m2 หน้าจอสีขาวบริสุทธิ์ และวัด cd/m2 ของสีดำสนิท (ดำไม่เหมือนตอนปิดจอ เพราะสีดำเกิดจากการกำเนิดแสง)

ถ้าหน้าจอที่มี 100 cd/m2 ของสีขาว และ 1 cd/m2 ของสีดำ เราจะอ่านค่า Contrast Ratio ว่า 100:1 (ตัวแรกขาว : ตัวหลังดำ)

จากที่เราเคยได้ยินว่า จอAMOLED ให้สีดำสนิท ก็เพราะว่า บางพิกเซล ที่เป็นสีดำ สามารถปิดสวิตซ์แหล่งกำเนิดแสงได้ในแต่ละพิกเซล ทำให้การอ่านค่าสีดำเท่ากับ 0

จากที่อธิบายมาทั้งหมด น่าจะทำให้เข้าใจมากขึ้นว่าค่า Contrast Ratio นั้นมีส่วนสำคัญต่อการแสดงผลสีดำบนหน้าจอ ในขณะที่จอที่แสดงผลสว่างกว่า ย่อมได้เปรียบกว่า จอสวยกว่า แต่ก็อาจจะแสดงผลสีดำได้ไม่ดำสนิท

จอที่ดี ต้องไม่สะท้อนแสงแดดจ้าจนมองไม่เห็นอะไรเลย คือยังมองเห็นชัดเจน ไม่จาง แม้อยู่กลางแดด จอที่แสดงผลตอนออกแดดได้ดี ก็เหมาะกับคนที่เน้นใช้กลางแดด แน่นอนว่า จะต้องลองปรับความสว่างหน้าจอสูงสุด 100%

ถ้าแปลเป็นไทยก็คือ ความสามารถในการตอบสนองการแตะหรือทัชหน้าจอเป็นหลักมิลลิวินาที (milliseconds) หน่วยเป็น ms เช่น การวาดบนหน้าจอ หน้าจอสามารถสร้างลายเส้นทันทีทันใดเมื่อตอบสนองนิ้วมือหรือปากกาสัมผัสหน้าจอได้ไวขนาดไหน

เรื่องเล่นเกมส์นี่สำคัญมาก ต้องไว ตอบสนองได้ดี รวมไปถึงการแสดงผล ที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ยิ่งมีตัวเลข ms น้อย ยิ่งเคลื่อนไหวหน้าจอตามนิ้วเราได้ไวและตอบสนองได้ทันทีทันใด (Real Time)

ยิ่งใครที่มองหามือถือเล่นเกมส์ ต้องดูค่า Refresh Rate โดยมือถือ Razer Phone 2017 มีค่า Refresh Rate สูงถึง 120Hz ยิ่งมีความสามารถในการแสดงผลเกมได้ลื่น มีเฟรมเรตที่สูง ในขณะที่iPhone 8 Plus และ Samsung Galaxy Note 8 มี Refresh Rate อยู่ที่ 60 Hz อันนี้เรื่องเฟรมเรต คนเล่นเกมส์จะเข้าใจดี

บนหน้าจอมือถือ มี 3 สิ่งที่เกี่ยวเนื่องกันของ Color Spaces (ดูตามภาพ) โดยมี 2 ปัจจัย Color Space และ Color Gamut

โดย Color Space เป็นการจัดการสี เราอาจจะเคยเห็นคำว่าsRGB, Adobe RGB, rec. 709 และ DCI-P3 อาจจะดูเทคนิคนิดนึง แต่เป็นการคำนวณการผสมสี โดยทุกๆ Color Space จะมี Color Gamut การเกลี่ยเฉดสีภายในพื้นที่นั้นๆ

ถ้าแปลให้เข้าใจง่ายๆ คือ ความสดของสี เป็นความสว่างของหน้าจอ LED โดยก่อนหน้านี้ Sony Xperia XZ Premium มีค่าการแสดงผลสีสูงถึง 138% (sRGB 138%)

ล่าสุด Samsung Galaxy Note8 แสดงผลสี sRGB 141% สูงกว่า Sony Xperia XZ Premium โดยการเลือกหน้าจอมือถือ ไม่ได้พิจารณาแค่ค่าเดียว ดังนั้นเราจึงเห็น Galaxy Note 8 จอสวยมาก

นอกจากเรื่องประเภทของจอ ขนาดหน้าจอ ความละเอียดแล้ว ยังมีอีกเรื่องคือ จอที่รองรับการแสดงผลแบบ HDR10 ซึ่ง HDR มาจาก High-dynamic-range อันนี้ทำให้ดูหนัง เล่นเกมส์ สมจริงมากขึ้น

โดยมาตรฐานHDR นั้น มีทั้ง Dolby Vision,HDR10 และ Mobile HDR Premium อธิบายง่ายๆ คือการแสดงผลให้การดูหนัง วีดีโอ ด้วยสีสันสมจริง อารมณ์ดูจอทีวีเลยล่ะครับ

ถ้าใครกำลังจะพิจารณาซื้อมือถือ ก็น่าจะพิจารณาเรื่องจอไว้สักหน่อย ถ้าเป็นจอ 4K HDR ตอนนี้มี Sony Xperia XZ Premium สมาร์ทโฟนหน้าจอระดับ 4K HDR ตัวแรกของโลก และ Xperia XZ2 Premium

ตอนนี้มี Content ที่เป็น HDR บน YouTube มากมาย ดังนั้น การรับชมแบบ HDR ไม่ได้จำกัดแค่บนทีวี แต่ดูบนจอมือถือที่รองรับ HDR ได้ด้วย

ถ้าดูจากภาพ อธิบายให้เห็นชัดเจนว่า มือถือที่มี Dolby Vision (ซ้าย) จะแสดงผลสี แสง ให้อารมณ์ในการดูหนังได้ดีกว่า

ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ HDR หมายถึงจอแสดงผลที่ให้สีที่สดกว่า แสดงผลครบทุกเฉดสีมากกว่า ความสว่าง ความมืด สมจริงกว่า เราเริ่มเข้าสู่อารมณ์การเลือกจอทีวีแล้วล่ะครับ

ในขณะที่ Mobile HDR ให้สีสันที่สมจริงกว่า โดยเฉพาะการรับชมภาพยนตร์ และเล่นเกมส์ ถ้าบอกว่า Mobile HDR ทำให้คุณได้ประสบการณ์เหมือนดูทีวีจอ 55 นิ้วบนมือถือล่ะ น่าสนใจใช่ไหมครับ แสดงผลสีได้ดี เกลี่ยสีได้ดี ส่วนไหนต้องการความ Contrast ก็แสดงผลได้ดี แต่ทั้งนี้อยู่ที่ Content ด้วย ว่าถ่ายมาแบบ HDR หรือเปล่า

สมัย Samsung Galaxy Note 7 (ที่อดขายไป เพราะเรื่องแบตร้อนจัด จนเกิดระเบิด) พยายามผลักดัน mobile HDR ในขณะที่ LG G6 ก็พยายามผลักดัน HDR10 และ Dolby Vision เช่นเดียวกับทีวี LG การนำเอาจอใหญ่มาลงจอเล็ก มีแนวคิดที่เข้าท่ามาก

ทั้ง mobile HDR, HDR10 และ Dolby Vision ต่างก็เป็นเทคโนโลยีที่แต่ละค่ายพยายามผลักดัน โดย Dolby Vision นั้นได้รับการสนับสนุนจาก Apple iTunes แสดงเนื้อหาบน iPhone 8 และ iPhone X รวมไปถึง การดูหนังบน iTunes นั้นรองรับทั้ง Dolby Vision และ HDR ส่วนบน YouTube นั้นก็มีContent HDR ให้ดูเยอะเหมือนกันหมายถึงว่า หนังหรือวีดีโอ จะต้องถ่ายด้วยกล้องที่รองรับการถ่ายวีดีโอแบบ HDR เช่น กล้อง Panasonic Lumix GH5

ปีที่ผ่านมา Ultra HD Alliance ได้ประกาศมารตฐาน ที่เรียกว่า Mobile HDR Premium แถมยังผลักดันผู้ผลิตภาพยนตร์ในการแสดงผลบนหน้าจอ เพื่อต่อยอดการแสดงผลแบบ HDR บนอุปกรณ์พกพา

แล้วมือถือเก่า จะมีโอกาสดูหนังที่เป็น mobile HDR ได้หรือเปล่า?

คำถามนี้ดีมาก ในทางเทคนิคแล้ว สามารถรับชม Content HDR บนอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งหากเป็นเทคโนโลยี Dolby Vision บนมือถือนั้นใช้ซอฟต์แวร์ ผู้ผลิตก็สามารถประสานกับทาง Dolby ให้เปิดการใช้งานได้ แต่ก็มีการจ่ายค่าลิขสิทธิ์กันไป แต่ผู้ผลิตเองก็อยากจะให้ซื้อเครื่องใหม่มากกว่า

รุ่นมือถือที่รองรับ mobile HDR

มือถือรุ่นใหม่ๆ ที่เปิดตัวในงาน Mobile World Congress 2018 รองรับ mobile HDR

Apple iPhone X, Apple iPhone 8, Apple iPhone 8 Plus, Apple iPad Pro (2nd-gen หรือ 2018), LG G6, LG V30, Samsung Galaxy Note 8, Samsung Galaxy S9, Samsung Galaxy S9+, Sony Xperia XZ Premium, Sony Xperia XZ1, Sony Xperia XZ2, Sony Xperia XZ2 Compact

อ่านมาถึงตรงนี้ ก็มีข้อสงสัยว่า แล้ว Content แบบ HDR จะหาดูได้จากที่ไหนล่ะ ก็ดู Netflix ไง รองรับ mobile HDR โดยใช้ LG G6 และอุปกรณ์ Apple ที่รองรับ Dolby Vision ก็ดูได้

ดูจากมือถือ Gaming อย่าง Razar Phone 2017 ใช้จอ IPS ส่วนมือถือ Android รุ่นระดับ หมื่นกลาง ส่วนใหญ่ก็จะใช้จอ IPS ทั้งนั้น ในขณะที่ Samsung จะใช้จอ Super AMOLED ซึ่งถ้าถามว่า การเล่นเกม ขึ้นอยู่กับประเภทจออย่างเดียวหรือไม่ ก็ต้องบอกว่า นอกจากความสวยสดของจอแล้ว เรื่องของ Refresh Rate ก็สำคัญ เรื่องค่า Contrast Ratio ก็สำคัญ Response Time ยิ่งต้องพิจารณา ไม่เช่นนั้น แตะหน้าจอแล้วไม่ไป ก็จะตายคาเกมส์เอาง่ายๆ และยังมีเรื่องสเปคของ CPU, GPU ให้พิจารณากันอีก แต่อย่างน้อย บทความนี้ ก็ช่วยให้ข้อมูลในการพิจารณา ไม่ใช่แค่การดูสเปค CPU, GPU, RAM แต่ต้องพิจารณาประเภทของหน้าจอ และค่าอื่นๆ เป็นปัจจัยประกอบด้วย

จากที่ร่ายมาทั้งหมด การเลือกซื้อมือถือ ไม่ได้ดูแค่ขนาดหน้าจอ แต่ดูเรื่อง Pixel, Contrast Radio, Response Time, Refresh Rate เรียกได้ว่า น้องๆ การเลือกซื้อจอทีวี - จอคอม กันเลยทีเดียว

ผู้เขียนมองว่า จอแต่ละประเภทมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ว่า จอแบบไหนจะดีที่สุด แต่เป็นเพราะว่าแต่ละคนใช้งานต่างกัน บางคนทำงานเน้นกลางแจ้ง ก็ควรใช้จอที่แสดงผลกลางแจ้งได้ดี คนเน้นเล่นเกม ก็ต้องดู Refresh Rate ด้วย คนเน้นดูหนัง ก็ดูตรง HDR ให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้งาน แถม 1 คน พกอุปกรณ์หลายชิ้นมากขึ้น อาจจะมีจอที่เน้นเล่นเกม จอที่เน้นทำงานก็เป็นได้

นอกจากการอ่านสเปค อ่านรีวิวแล้ว ผู้เขียน ก็ยังแนะนำให้ไปดูด้วยตาตัวเองมากกว่าเพราะเราได้เห็นจอมือถือจริงๆ เราชอบแบบไหน ก็ให้ไปจับเครื่องจริงที่ร้านได้เลย ตอนนี้ร้านใหญ่ๆ ล้วนแต่วางเครื่องให้กับกันได้อย่างจุใจอยู่แล้ว พนักงานก็เพียงแค่แนะนำโปร สุดท้ายก็อยู่ที่เราตัดสินใจ

แถมอีกนิด มือถือบางรุ่น มีคุณสมบัติ Eye Comfort (ภาษาไทยอาจจะแปล ปกป้องดวงตา) คือหรี่แสงหน้าจอทำให้เรามองหน้าจอในที่แสงน้อยได้ดี เช่น ลูกนอนแล้ว แต่เรายังทำงาน ก็เปิดโคมไฟทำงานต่อ เราก็จะดูมือถือได้โดยไม่แสบตา แต่ทั้งนี้ แสงสว่างที่เพียงพอในการใช้งานมือถือสำคัญที่สุด

Write a Comment