DSpace at Bangkok University: การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรม ผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

เทคโนโลยีมือถือ 3G

เทคโนโลยีในยุคที่ 3 เรื่องความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้สามารถใช้บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ-ส่ง File ขนาดใหญ่, การใช้บริการ Video Conference , Download เพลง , ดู TV ในลักษณะแบบ Streaming เป็นต้น

ปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย ก็มีการเริ่มทดสอบและใช้งานเทคโนโลยี 3G แล้ว แต่ยังคงสามารถใช้งานได้เพียงบางพื้นที่เท่านั้น

• 2.5G : 2.5 Generation

เป็นยุคของระบบ GPRS ที่สามารถใช้งานในเรื่องของ wireless ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

บางข้อมูลก็มีการกล่าวถึง ยุค 2.75G ที่ได้พูดถึงเทคโนโลยี EDGE ซึ่งเป็นเทคโนโลยีส่งข้อมูลแบบไร้สาย ที่พัฒนามาจากพื้นฐาน GPRS

มาดูเทคโนโลยีใหม่ของโทรศัพท์มือถือ ที่ไม่ต้องใส่แบตเตอรี่

เฮ้ลลลโหลลลล ...., สวัสดี นี่โทรจากโทรศัพท์มือถือที่ไม่มีแบตเตอรี่นะ และนี่คือคำพูดของ Vamsi Talla ในห้องทดลองของมหาวิทยาลัยวอชิงตันในรัฐซีแอทเติ้ล ซึ่งจะบอกว่าเป็นคำพูดแรกของโทรศัพท์ที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่เลยกูคงไม่ผิดนัก ..., คำถามคือ แล้วโทรได้อย่างไร

โจทย์ ณ ตอนที่จะทำการทดลอง ซึ่งการใช้เวลาเนิ่นนานหลายปี กว่าโทรศัพท์มือถือไร้แบตเตอรี่เครื่องต้นแบบเครื่องนี้ จะสามารถใช้งานได้จริง ๆ ก่อนหน้านี้จะมีคำถามว่า "ถ้าต้องมีอะไรสักอย่างที่ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่ จะต้องเป็นอะไร" ..., คำตอบคือ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในชีวิตอย่างหนึ่ง ..., คงจะดีไม่น้อยถ้าโทรศัพท์มือถือของเราแบตหมดแต่ก็ยังสามารถโทรออกและส่งข้อความได้

คำถามคือ เราได้แหล่งพลังงานมาจากไหนให้แก่โทรศัพท์มือถือ จริง ๆ แล้วเราใช้ทั้งพลังงานจากแสดงอาทิตย์ผ่านเทคโนโลยีโซล่าร์เซลล์ รวมไปถึงเทคโนโลยีการดักจับเอาคลื่นทั่วไปบนอากาศมาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นคลื่นโทรทัศน์หรือคลื่นไวไฟ แต่เราได้พลังงานมา น้อย น้อยมาก ๆ ซึ่งไม่เพียงพอต่อมือถือในยุคปัจจุบันที่ต้องใช้พลังงานมากมาย ในการใช้งาน

ในห้องแลปเองจึงได้พัฒนาระบบการโทรขึ้นมาเอง ด้วยวิธีสะท้อนคลื่นวิทยุที่วิ่งเข้ามา เหมือนเราเอากระจกสะท้อนให้ไปถึงเครื่องบิน แต่อนิจจัง การกินแบตมากที่สุดคือการเปลี่ยนให้เสียงมนุษย์จากที่เป็นอะนาลอกไปเป็นดิจิตอล และนั่นทำให้กำลังไฟไม่เพียงพอ!!

ดังนั้นเครื่องต้นแบบนี้ก็สามารถใช้งานได้ในระยะทางเพียงสั้น ๆ ไม่เกิน 15 เมตรเท่านั้น (หยั่งกับ Walkie Talkie) ซึ่งถ้ามีการขายจริง อาจจะต้องสร้างฐานส่งกระจายไปตามจุดต่าง ๆ เช่นฝังไว้ในเร้าเตอร์เป็นต้น

ในอนาคตเราอาจจะได้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ สำหรับโทรเข้า โทรออก ส่งข้อความได้ตลอดเวลาก็เป็นได้ ใครจะไปรู้

DSpace at Bangkok University: การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรม ผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

DSpace at Bangkok University >

Graduate School >

Master Degree >

Independent Studies - Master > Please use this identifier to cite or link to this item:

Title: การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรม ผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร Other Titles: Mobile Technology Acceptance, Social Media Marketing, and Online Consumer Behavior Affecting Online Products’ Purchase Intention through Application of Customers in Bangkok Authors: ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล Keywords: การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ

การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์

พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์

ความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์

แอปพลิเคชัน Issue Date: 2560 Publisher: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาด ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน แอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดที่ผ่านการทดสอบ ความเชื่อมั่นและความตรงเชิงเนื้อหาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่มี การใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต และมีความสนใจที่จะซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน แอปพลิเคชัน จำนวน 260 คน สถิติเชิงอนุมานที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือ การวิเคราะห์ การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20–29 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001– 20,000 บาท ผู้บริโภคส่วนใหญ่ใช้เวลาดูสินค้าออนไลน์โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1–3 ชั่วโมง และ แอปพลิเคชันซื้อสินค้าออนไลน์ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่รู้จักมากที่สุด คือ Lazada ส่วนผลการทดสอบ สมมติฐาน พบว่า การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือด้านการรับรู้ประโยชน์จากการใช้งาน ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านการรับรู้ทรัพยากรทางการเงิน การตลาดผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ด้านโฆษณาออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ด้านประสิทธิภาพของสารสนเทศส่งผล ต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยร่วมกันพยากรณ์ความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 59.9 ในขณะที่การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือด้านการรับรู้ ความเข้ากันได้ ด้านการรับรู้ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และด้านการรับรู้ความไว้วางใจ การตลาด ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้านการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้านชุมชนออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ด้านอารมณ์ออนไลน์ ด้านความต่อเนื่อง และด้านความบันเทิง ออนไลน์ ไม่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

The research was aimed primarily to explore the mobile technology acceptance, social media marketing, and online consumer behavior affecting online products’ purchase intention through application of customers in Bangkok. Closed–ended survey questionnaires were reviewed the validity of content, tested for reliability, and implemented to collect data from 260 customers in Bangkok who used smartphones or tablets and interested to purchase online products via application. The inferential statistics for hypothesis testing was regression. The results revealed that the majority of participants were female with 20–29 years of age. They completed bachelors’ degrees. Most of them worked in private companies and earned average monthly incomes between 10,001–20,000 baht. They spent average 1–3 hours weekly in viewing online products. The mobile application that most of them were familiar with was Lazada. The results of hypothesis testing showed that the factors affecting purchase intention through online shopping via application of customers in Bangkok at .05 statistically significant level were mobile technology acceptance in terms of the perceived usefulness, perceived ease of use, and perceived financial resources, social media marketing in terms of online advertisement, and consumer behavior in terms of effectiveness of information content. These factors explained the effects on the online products’ purchase intention through application of customers in Bangkok accounting for 59.9 percent. However, mobile technology acceptance in terms of perceived compatibility, perceived security risk, and perceived trust, social media marketing in terms of electronic word-of-mouth, online community, and consumer behavior in terms of online emotions, flow and online entertainment did not affect purchase the online products’ purchase intention through application of customers in Bangkok. Description: การค้นคว้าอิสระ (บธ.ม.)--บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2558 Advisor(s): นิตนา ฐานิตธนกร URI: Appears in Collections: Independent Studies - Master

Independent Studies

Files in This Item: File Description Size Format natthanun_pith.pdf 6.9 MB Adobe PDF View/Open View Statistics Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Write a Comment