4 สิงหาคม 'วันสื่อสารแห่งชาติ' ย้อนรอยเทคโนโลยีการสื่อสารไทย

การสื่อสาร หรือการแลกเปลี่ยนสาร หรือข้อมูล ทั้งในรูปแบบของภาษา ท่าทางและสัญลักษณ์ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมและประเทศชาติให้มีความมั่นคงและเจริญก้าวหน้า ดังเช่น พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้ทรงพระราชทานไว้ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เนื่องในโอกาสการจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติครั้งแรก เมื่อวันที่ 15กรกฎาคม พ.ศ. 2526

"การสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศด้วย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน ที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ การติดต่อสือสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายและทุกหน่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประเทศ จึงควรจะได้ร่วมมือกันดำเนินงาน และประสานผลงานกันอย่างใกล้ชิดและสอดคล้อง สำคัญที่สุด ควรจะได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการและเทคโนโลยีอันทันสมัยให้ลึกซึ้งและกว้างขวาง แล้วพิจารณาเลือกเฟ้นส่วนที่ดี มีประสิทธิภาพแน่นอนมาปรับปรุงใช้ด้วยความฉลาดริเริ่ม ให้พอเหมาะพอสมกับฐานะและสภาพบ้านเมืองของเรา เพื่อให้กิจการสื่อสารของชาติได้พัฒนาอย่างเต็มที่ และสามารถอำนวยประโยชน์แก่การสร้างเสริม เศรษฐกิจ สังคม และเสถียรภาพของบ้านเมืองได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง"

ประเทศไทย กำหนดให้วันที่ 4 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันสื่อสารแห่งชาติ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากในปี 2526 หลังคณะกรรมการจัดงานปีการสื่อสารโลก พิจารณาเห็นว่า วันที่ 4 สิงหาคม 2426 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา "กรมไปรษณีย์" และ "กรมโทรเลข" ขึ้นในไทย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของกิจการสื่อสารของประเทศ และยังทรงแต่งตั้งให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เป็นอธิบดีผู้สำเร็จราชการทั้งกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นพระองค์แรก

และเพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่ได้ทรงมีแก่กิจการไปรษณีย์ไทย คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2526 กำหนดให้ วันที่ 4 สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันสื่อสารแห่งชาติ" และจัดงานวันสื่อสารแห่งชาติ ครั้งแรกในปี พ.ศ.2526 โดยจัดร่วมกับงานครบรอบ 100 ปี การสถาปนากรมไปรษณีย์โทรเลข และการเฉลิมฉลองปีการสื่อสารโลก ของสหประชาชาติ

ที่ผ่านมา เทคโนโลยีด้านการสื่อสารของไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และมีส่วนสำคัญอย่างมากในการช่วยขยายเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของไทยในเวทีโลก ขณะที่ตลอดหลายสิบปีมานี้ คนไทยเราได้สัมผัสเทคโนโลยีและเครื่องมือด้านการสื่อสารที่มีวิวัฒนาการมาตามลำดับอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

เป็นปีก่อตั้งกรมไปรษณีย์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 และปีเดียวกับเทคโนโลยีสื่อสารแรกของระบบโทรคมนาคมไทย คือ"โทรเลข" ซึ่งเป็นการส่งข้อความรหัสมอร์ส และเป็นเทคโนโลยีสื่อสารที่ทันสมัยและรวดเร็วที่สุดในยุคนั้น แต่มีความยุ่งยากและต้องอาศัยผู้ชำนาญที่ต้องผ่านการฝึกฝน ขณะที่กรมโทรเลขและกรมไปรษณีย์ รวมเข้าด้วยกันในเวลาต่อมา กลายเป็น "กรมไปรษณีย์โทรเลข"

มีการนำเครื่อง "โทรพิมพ์" เครื่องแรกของไทย ที่สามารถทำงานได้ทั้งภาษาอังกฤษและไทย โดยมีลักษณะคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีดที่สามารถพิมพ์ข้อความส่งไปยังเครื่องปลายทางได้

มีการใช้เครื่อง Quick Fax หรือเครื่องโทรสารความเร็วสูง ครั้งแรกในไทย โดยเป็นปีที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 8 ซึ่งบริษัทของญี่ปุ่นได้นำเครื่อง Quick Fax มาใช้ส่งเอกสารรายงานข่าวการแข่งขันกีฬากลับไปยังญี่ปุ่น

เริ่มมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระบบ NMT470 ซึ่งให้บริการโดยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โดยตัวเครื่องมีลักษณะเป็นกระเป๋าหิ้ว ถือเป็นยุค 1G หรือ Generation ที่ 1 ของระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ

- ต่อมาในเดือนมีนาคม 2533 เริ่มมีบริการ"โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบรวงผึ้ง (Cellular Mobile Telephone System)" หรือ Cellular Telephone ผ่านระบบ Cellular 900 ที่ให้บริการโดยบริษัท AIS

นับเป็นยุค 2G หรือ Generation ที่ 2 ของระบบโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย โดยเป็นปีที่เกิดโทรศัพท์มือถือระบบดิจิตอล ในชื่อระบบเครือข่าย Digital GSM ของบริษัท AIS และระบบเครือข่าย WorldPhone 1800 ของ TAC

ระบบส่งข้อความแชทหรือ Instant Messaging ผ่านอินเทอร์เน็ต เริ่มได้รับความนิยมในไทย มีโปรแกรมแชทที่หลากหลาย ทั้ง ICQ, Pirch98,MSN Messenger

เป็นปีที่ โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนอย่าง Black Berry และแอปพลิเคชันแชทอย่าง WhatsApp เริ่มได้รับความนิยมอย่างมากในไทย

แอปพลิเคชัน LINE เริ่มให้บริการในไทยและได้รับความนิยมต่อเนื่องแทนที่ WhatsApp ขณะที่โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนเริ่มแพร่หลายและมีประชาชนใช้งานจำนวนมาก

Write a Comment